วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2554

เครียดนัก พักหน่อย

ขอเสนอภาพเบาสมองครับ    อย่าคิดมาก
ปัญหาอันหนักอึ้ง  บางทีแค่ยืนขึ้น ก็น่าจะรู้วิธีแก้ปัญหา
แค่ผิวเผิน  ฉันอาจไม่ได้เป็นเหมือนสิ่งที่คุณคิด
 โฉมหน้าที่แท้จริง  ฉัน ก็ยังเป็นฉัน
ไม่ต้องฝึกมา  ก็รู้พิกัด แม่นด้วย 
 จุดอับ  นักถ่ายภาพ
 ซื้อคันใหม่ให้  ยายก็ขี่ไม่เป็น
เมื่อฉันมั่นใจ  ใครก็หยุดไม่อยู่

การประกันคุณภาพการศึกษา

                คำว่า  ประกัน  ในภาษาอังกฤษมี  2  คำ  คือ  “Insure”  กับ  “Assure”
                Insure  ภาษาไทยใช้คำว่า  ประกัน  โดยมุ่งที่ประกันชีวิต  ประกันอุบัติเหตุ  ประกันวินาศภัย
                Assure  ภาษาไทยใช้คำว่า  ประกัน  เช่นกัน  แต่มุ่งที่ให้ความมั่นใจแก่เจ้าของเงินว่า  ผลผลิตของหน่วยงานน่าจะมีคุณภาพ
                ดังนั้น  การประกันคุณภาพ  (Quality  Assurance)  การศึกษาของโรงเรียนจึงเป็นการให้หลักฐาน  ข้อมูล  แก่ประชาชนว่าบุคคลในโรงเรียนทำงานอย่างเต็มความสามารถเพื่อให้ผู้ปกครอง  นักเรียน  และสาธารณะชนมั่นใจว่านักเรียนน่าจะมีคุณภาพตามที่ระบุไว้ในหลักสูตรและมาตรฐานคุณภาพการศึกษา และสามารถดำเนินการให้เกิดคุณภาพการศึกษาตามบทบาทหน้าที่ของครูในระบบการประกันคุณภาพภายใน และระบบการประกันคุณภาพภายนอก พร้อมทั้งมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ความหมายและความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา
 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 81 ได้กำหนดให้รัฐต้องจัดการศึกษาอบรมและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิด ความรู้คู่คุณธรรมและจัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งนำไปสู่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 ก่อให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่ที่มุ่งเน้นคุณภาพการศึกษา คือ ได้กำหนดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542: มาตรา 47)
               ความหมายของการประกันคุณภาพการศึกษา
                หมายถึง การบริหารจัดการและการดำเนินกิจกรรมตามภารกิจปกติของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง สร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการทางการศึกษา ทั้งผู้รับบริการโดยตรง ได้แก่ ผู้เรียน ผู้ปกครอง และผู้รับบริการทางอ้อม ได้แก่ สถานประกอบการ ประชาชน และสังคมโดยรวม
 (ภาพประกอบ  ไม่เกี่ยวกับเรื่องครับ)
(คัดลอกจากบทความ  รศ.ดร.พีรพงศ์  ทิพนาค)

วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2554

ผู้บริหารมืออาชีพ

CITY EDU / ผู้บริหารมืออาชีพ (Professional Administrator)
               คำว่า ผู้บริหารมืออาชีพ (Professional Administrator) และครูมืออาชีพ เป็นคำที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน  การจะเป็นมืออาชีพได้นั้น ต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างผสมผสานกับประสบการณ์ ความรู้ ซึ่งมีผู้กล่าวถึงคุณสมบัตินักบริหารมืออาชีพและครูมืออาชีพไว้มาก ในที่นี้จึงขอกล่าวถึงผู้บริหารมืออาชีพก่อน
                ผู้บริหาร หากพิจารณาจากคำว่าบริหาร มาจาก คำว่า บริ+หาร  บริ หรือ ปริ แปลว่ารอบด้าน รอบรู้ ส่วนคำว่า หาร (หาระ) แปลว่า นำไป โดยรูปคำ ผู้บริหาร  จึงหมายถึง ผู้นำไปรอบด้าน ผู้นำไปสู่ความรอบรู้ ทุกกระบวนการ
                มืออาชีพ (Professional) หมายถึง ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ
                ผู้บริหารมืออาชีพ ผู้นำที่มีความเชี่ยวชาญในการนำไปรอบด้าน นำไปสู่ความรู้ สู่จุดมุ่งหมาย
                คุณลักษณะผู้บริหารมืออาชีพ มีนักวิชาการกล่าวไว้หลาย ๆ แบบ แต่โดยภาพรวมจะมีสิ่งที่คล้าย ๆ กัน แต่มีมุมมองแปลกใหม่ที่อยากนำเสนอคือมุมมองของพระราชวิจิตรปฏิภาณ วัดสุทัศนเทพวราราม ที่กล่าวถึงนักบริหารมืออาชีพ 6 บริ คือ บริเวณ บริวาร บริภัณฑ์ บริการ บริกรรมกิจ บริกรรมภาวนา  ซึ่งมีอยู่ 2 ข้อที่ต้องขยายความ คือ บริกรรมกิจ คือ รับหน้าที่อะไรไว้ต้องทำให้หมด และบริกรรมภาวนา คือ ต้องเป็นคนดี มีศีลธรรม ไหว้พระสวดมนต์ ทำสมาธิสม่ำเสมอ
                ผู้บริหาร 10 ดี (10 D) เป็นแนวคิดของ รศ.เทื้อน ทองแก้ว จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ที่รวบรวมอักษร D ไว้ถึง 10 อย่าง คือ Dream (ความฝัน),Decisiveness (กล้าตัดสินใจ), Doers (ผู้ปฎิบัติ),  Determination (มีความมุ่งมั่น),  Dedication (อุทิศตน), Devotion (การใส่ใจ), Details (ลงรายละเอียด),  Destiny (กำหนดเป้าหมายเอง), Dollars (ความร่ำรวย), Distribute (แบ่งปันความเป็นเจ้าของ)
                ความเป็นผู้บริหารมืออาชีพที่ ศาสตรจารย์ ดอกเตอร์ สายหยุด  จำปาทอง ได้เคยกล่าวไว้ มีข้อหนึ่งที่น่าสนใจ คือ ความกล้าตัดสินใจ
                เมื่อนำแนวคิดต่าง ๆ มาผสานกับแนวคิดของ ผศ.ศรายุทธ  เศรษฐขจร จาก มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ผู้บริหารมืออาชีพที่จะกล่าวถึงในที่นี้ต้องมีคุณลักษณะเป็นคนเก่ง กล้า และใหม่ คือเป็นคน 3 เก่ง เป็นคน 3 กล้า เป็นคนดี และเป็นคนรุ่นใหม่ 3 ใหม่
                ลักษณะคนเก่ง 3 เก่ง คือ เก่งคิด เก่งคน เก่งงาน เพราะผู้บริหารมืออาชีพ ควรเป็นผู้ที่เป็นนักคิด เพื่อสามารถนำสิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์มาปรับปรุงและพัฒนาองค์การให้เจริญก้าวหน้า เป็นผู้นำ เก่งคน คือ รู้จักใช้คนให้เหมาะสมกับความถนัดและความสามารถงาน และเก่งงาน ผู้บริหารมืออาชีพต้องเป็นผู้ทำงานเก่ง รู้จัดวางแผนการทำงาน มีการตรวจสอบ ประเมินผล และพัฒนางานตามวงจรคุณภาพ PDCA
                ลักษณะคนกล้า 3 กล้า คือ กล้าตัดสินใจ กล้าเสี่ยง กล้าเปลี่ยนแปลง ความกล้าเป็นสิ่งสำคัญของผู้บริหารมืออาชีพที่ต้องตัดสินใจ โดยอยู่บนพื้นฐานความถูกต้อง ไม่ผิดกฎระเบียบ ความกล้าเปรียบเหมือนไฟในตัวผู้บริหารมืออาชีพ ที่ควรมีความกล้า กล้าตัดสินใจ งานบางอย่างเป็นงานที่ต้องอาศัยความรู้ ประสบการณ์ในการตัดสินใจ ผู้บริหารจึงต้องกล้าตัดสินใจ  การตัดสินใจผูกติดกับความเสียง ดังนั้นผู้บริหารจึงต้องกล้าเสี่ยงว่าการตัดสินใจนั้นถูกต้องหรือไม่ และประการสำคัญผู้บริหารมืออาชีพต้องกล้าเปลี่ยนแปลง เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ถ้าการเปลี่ยนแปลงส่งผลให้องค์การดีขึ้น
                ลักษณะคนรุ่นใหม่ 3 ใหม่ คือ พัฒนาระบบงานและนวัตกรรมใหม่,  สร้างวัฒนธรรมองค์กรใหม่ และแสวงหาความรู้ใหม่ ผู้บริหารมืออาชีพต้องรู้จักพัฒนาระบบงานและนวัตกรรมใหม่ ยอมรับเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ รู้จักสร้างวัฒนธรรมองค์กรใหม่ เพื่อพัฒนาองค์กรให้ทันสมัย และสิ่งสำคัญผู้บริหารต้องแสวงหาความรู้ใหม่อยู่เสมอ
                ผู้บริหารมืออาชีพเป็นผู้ที่จะนำองค์การไปสู่ความสำเร็จ เกิดประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ จึงต้องเก่งทั้งศาสตร์และศิลป์ สิ่งสำคัญอีกประการคือผู้บริหารมืออาชีพต้อง รู้จักบริกรรมภาวนา คือ ต้องเป็นคนดีมีศีลธรรม ไหว้พระสวดมนต์ตามหลักศาสนาที่ตนนับถือ และทำสมาธิสม่ำเสมอ จึงจะเป็นผู้บริหารมืออาชีพที่สมบูรณ์แบบ เป็นผู้บริหารมืออาชีพที่เก่งและดี ไม่เป็นผู้บริหารมืออาชีพที่เก่งและโกง
                คุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพที่กล่าวมา ครูผู้สอนสามารถนำมาปรับใช้เพื่อพัฒนาตนเองให้เป็นครูมืออาชีพได้ โดยบูรณาการเข้าสู่การจัดการเรียนการสอน การบริหารห้องเรียนอย่างมืออาชีพ บวกกันความรู้ และประสบการณ์ของคุณครู จะช่วยพัฒนาคุณครูให้เป็นครูมืออาชีพได้
 ที่มา
 :  http://gotoknow.org/blog/thecityedu/159300

วุฒิภาวะทางอารมณ์ของผู้บริหาร

ลักษณะและบทบาทของผู้นำ
                ผู้นำ เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารหรือการจัดการ ผู้จัดการหรือผู้บริหารมีหน้าที่วางแผนและจัดระเบียบให้งานดำเนินไปได้ด้วยความเรียบร้อย แต่ผู้นำ มีหน้าที่ทำให้ผู้อื่นตาม และการที่คนอื่นตามผู้นำ ก็ไม่มีใครรับรองว่า ผู้นำจะนำไปในทิศทางที่ถูกต้องเสมอ ดังนั้น คนที่เป็นผู้นำที่เข้มแข็ง ก็อาจจะไม่ใช่ผู้จัดการ หรือบริหารที่ดีได้ หรือผู้บริหาร-ผู้จัดการที่ดี ก็อาจไม่ใช่ผู้นำที่ดีก็ได้ ดังนั้น ถ้าเป็นไปได้ องค์การหนึ่งองค์การใดที่ต้องการประสบความสำเร็จ ก็ย่อมต้องการผู้บริหาร หรือผู้จัดการที่มีลักษณะเป็นผู้นำดังนี้
                1. ต้องมีความฉลาด (Intelligence) ผู้นำจะต้องมีระดับความรู้และสติปัญญาโดยเฉลี่ยสูงกว่าบุคคลที่ให้เขาเป็นผู้นำ เพราะผู้นำจะต้องมีความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ  บุคคลที่ฉลาดเท่านั้นที่จะสามารถจัดการกับปัญหาต่าง ๆ หรือเรื่องราวต่าง ๆ ได้
                2. ต้องมีวุฒิภาวะทางสังคมและใจกว้าง (Social Maturity & Achievement Drive) คือจะต้องมีความสนใจสิ่งต่าง ๆ รอบตัวอย่างกว้างขวาง มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ ต้องยอมรับสภาพต่าง ๆ ไม่ว่าแพ้หรือชนะ ไม่ว่าผิดหวังหรือสำเร็จ ผู้นำจะต้องมีความอดทนต่อความคับข้องใจต่าง ๆ พยายามขจัดความรู้สึกต่อต้านสังคม หรือต่อต้านคนอื่นให้เหลือน้อยที่สุด เป็นคนมีเหตุผล เป็นคนเชื่อมั่นในตนเอง และนับถือตนเอง
                3. ต้องมีแรงจูงใจภายใน (Inner Motivation) ผู้นำจะต้องมีแรงขับที่จะทำอะไรให้เด่น ให้สำเร็จอยู่เรื่อย ๆ เมื่อทำสิ่งหนึ่งสำเร็จก็ต้องการที่จะทำสิ่งอื่นต่อไป เมื่อทำสิ่งใดสำเร็จก็จะกลายเป็นแรงจูงใจท้าทายให้ทำสิ่งอื่นให้สำเร็จต่อไป ผู้นำจะต้องมีความรับผิดชอบอย่างสูง เพราะความรับผิดชอบจะเป็นบันไดที่ทำให้เขามีโอกาสประสบความสำเร็จ
                4. ต้องมีเจตคติที่ดีเกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations Attitudes) ผู้นำที่ประสบความสำเร็จนั้น เขายอมรับอยู่เสมอว่า งานที่สำเร็จนั้นมีคนอื่นช่วยทำ ไม่ใช่เขาทำเอง ดังนั้น เขาจะต้องพัฒนาความเข้าใจและทักษะทางสังคมที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่น ผู้นำจะต้องให้ความนับถือผู้อื่นและจำต้องระลึกอยู่เสมอว่า ความสำเร็จในการเป็นผู้นำนั้น ขึ้นอยู่กับความร่วมมือกับผู้อื่น และการติดต่อกับบุคคลอื่นในฐานะที่เขาเป็นบุคคล ไม่ใช่ในฐานะที่เขาเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานเท่านั้น ผู้นำจะต้องยอมรับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนอื่น และมีความสนใจร่วมกับผู้อื่น
                จึงเป็นได้ว่า ผู้นำ ซึ่งหมายความถึงบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งขึ้นมาหรือได้รับการยกย่องขึ้นให้เป็นหัวหน้าผู้ตัดสินใจ เพราะมีความสามารถการปกครองบังคับบัญชา และจะพาผู้ตามหรือผู้ใต้บังคับบัญชา ไปในทางดีหรือชั่วได้ โดยใช้ระบบกระบวนการติดต่อซึ่งกันและกันในอันที่จะให้บรรลุเป้าหมาย และความสามารถที่จะชักจูงผู้อื่นให้ความร่วมมือร่วมใจกับตน ดำเนินการไปสู่จุดมุ่งหมายของตนได้ ดังนั้น การเป็นผู้นำจึงเป็นศิลปะของการที่จะมีอิทธิพลเหนือคน และนำคนแต่ละคนไปโดยที่คนเหล่านั้นมีความเชื่ออย่างเต็มใจ มีความมั่นใจในตัวผู้นำ มีความเคารพนับถือและให้ความร่วมมือกับผู้นำด้วยความจริงใจ เพื่อจะได้ปฏิบัติภารกิจให้ลุล่วงไปด้วยดี ภาวะผู้นำนั้น ย่อมเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งในการบริหารงาน และเป็นจุดรวมพลังของทุกคนในองค์กร ฉะนั้น ผู้นำย่อมเป็นหลักที่มีความสำคัญยิ่งในการบริหารงาน ต่อผู้ใต้บังคับบัญชา และต่อผลงานอันเป็นส่วนรวม คุณภาพ และคุณลักษณะของผู้นำย่อมจะมีผลสะท้อนต่อวิธีปฏิบัติงานและผลงานขององค์การเป็นอย่างมาก
บทบาทของผู้นำในยุคที่ผ่าน ๆ มานั้น สังคมและธุรกิจถือว่าไม่มีบทบาทที่สำคัญ โดยถือว่าผู้นำเกิดขึ้นโดยกำเนิด หรือเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ แต่ในสภาวะปัจจุบันนี้ ถือว่าผู้นำนั้นสามารถเรียนรู้ ฝึกอบรม และเสริมสร้างขึ้นมาได้ ทั้งนี้เพราะว่าผู้นำได้เป็นที่ยอมรับว่า มีบทบาทสำคัญต่อการบริหาร ลักษณะของผู้นำก็แตกต่างกันไปตามสถานการณ์ ซึ่งทำให้เกิดผู้นำในแบบต่าง ๆ แต่ลักษณะของผู้นำที่เป็นที่ยอมรับคือผู้นำในฐานะผู้นำทาง ไม่ว่าจะเป็นผู้นำขององค์การ หรือผู้นำทางสังคม ก็หมายถึง คนที่สามารถชี้ให้คนอื่นดำเนินการไปในทางที่ถูกต้องได้
ในปัจจุบันเรามักจะมุ่งที่ตัวผู้นำที่สามารถชักจูงให้ผู้ปฏิบัติงานดำเนินงานไปพร้อม ๆ กันอย่างมีประสิทธิภาพ งานขององค์การจะก้าวหน้าอย่างไรอยู่ที่ตัวผู้นำเป็นสำคัญ ผู้นำจะต้องเรียนรู้สิ่งต่างๆ มากกว่าคนอื่น แก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ สามารถทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาร่วมกันแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างสอดคล้องตามสถานการณ์ แต่สถานการณ์ต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วจนองค์การมีขนาดใหญ่และมีความสลับซับซ้อนในการบริหารงาน ตามสถานการณ์ที่ผู้นำต้องมีความสามารถหลายอย่าง ลักษณะการบริหารไม่ได้อยู่ที่ผู้นำคนเดียว แต่อยู่ที่ผู้ปฏิบัติงานทุกคน ดังนั้น ผู้นำในทศวรรษหน้าจะต้องเป็นนักพัฒนา ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาแต่ละคนสามารถทำงานได้เองทุกอย่าง ทั้งในงานที่ทำร่วมกัน และงานที่ทำเฉพาะตัว
ผู้นำในทศวรรษหน้า จะต้องพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาให้มีความสามารถที่จะทำงานได้เอง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับผู้นำองค์กรหรือหัวหน้างาน
ลักษณะของผู้นำในทศวรรษหน้า
1. เป็นผู้บริหารที่ไม่มากเกินไปในทางใดทางหนึ่ง คือ ไม่ใช่ผู้นำที่มุ่งแต่งานอย่างเดียว หรือมุ่งที่คนอย่างเดียว จะต้องอยู่ตรงกลางระหว่างความมากเกินไปและน้อยเกินไปในเรื่องของความรับผิดชอบงาน และการควบคุมงาน การบริหารในยุคหน้าคือการก้าวสู่สถานการณ์ที่คาดคะเนไม่ได้ การบริหารไม่ได้อาศัยคนใดคนหนึ่งตัดสินใจ แต่ผู้ปฏิบัติงานจะต้องแก้ปัญหาเอง และแต่ละปัญหาที่เกิดขึ้นมีความแตกต่างกัน โดยต้องใช้คนที่มีลักษณะหลากหลาย เพราะทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกัน
2. ผู้บริหารเน้นการสร้างให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนมีความเป็นเลิศในทุกด้าน ไม่ใช่ผู้บริหารที่รับผิดชอบในความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์การ แต่ต้องรับผิดชอบร่วมกันระหว่างผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน การพัฒนาผู้ปฏิบัติงานให้มีความสามารถรอบด้าน ก็เพื่อให้คนเหล่านั้นมีส่วนร่วมในการบริหารงาน ให้ทุกคนมีส่วนร่วมกันในการใช้ความรู้ความสามารถ ที่มีต่อความความสำเร็จขององค์การเมื่อเกิดปัญหาในงานไม่ใช่รายงานไปยังผู้บริหารให้ตัดสินใจ แต่ทุกคนมีภาระร่วมกันในการใช้ความเป็นเลิศแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
3.  วิธีการแก้ปัญหาของผู้นำจะใช้ผู้ปฏิบัติงานแก้เอง  การบริหารในยุคที่ผู้นำแก้ปัญหาได้ทุกอย่างจะหมดไป กล่าวคือ  เมื่อได้รับรายงานจากผู้ปฏิบัติงานจะส่งปัญหากลับคืนไปยังผู้ปฏิบัติงานให้คิดเป็นทำเป็น ซึ่งเท่ากับเป็นการพัฒนาคนให้สามารถแก้ปัญหาได้
4.  ผู้นำจะมอบอำนาจ  จนพอที่ผู้ปฏิบัติงานสามารถใช้อำนาจนั้นให้งานสำเร็จในตัว แต่ขณะเดียวกันก็กำหนดวิธีการควบคุมที่ได้ผล  การให้ผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วมรับผิดชอบร่วมกับผู้บริหารจำเป็นต้องให้อำนาจอย่างเต็มที่ในการตัดสินใจ  แต่ผู้นำก็มีระบบควบคุมที่ทำให้ตรวจสอบได้ว่างานก้าวหน้าไปอย่างไร  โดยผู้ปฏิบัติงานมีอิสระในการตัดสินใจ  กล่าวคือผู้นำจะมีทั้งความยืดหยุ่นและเข้มงวดในการควบคุมงานไปพร้อม ๆ กัน
5.  ผู้นำเน้นคุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงานที่สามารถทำงานเป็นทีมได้อย่างดี  ขณะเดียวกันความสามารถเฉพาะตัวก็สูงด้วย  การทำงานเป็นทีม  ทุกคนทำงานโดยมุ่งหมายความสำเร็จส่วนรวมขององค์การ โดยอาศัยความสามารถที่แตกต่างและหลากหลายของแต่ละคน  การสร้างทีมงานจะส่งเสริมพัฒนาคนให้มุ่งสู่เป้าหมายร่วมกัน บนรากฐานของความไว้วางใจซึ่งกันและกันโดยที่แต่ละคนต่างรู้ภารกิจของตน
ในสภาพการแข่งขันที่ดุเดือดของโลกธุรกิจ
องค์กรต้องพร้อมที่จะปรับตัวตลอดเวลาเพื่อความอยู่รอดในบทบาทผู้นำจึงควรทำในสิ่งต่อไปนี้
1. ชี้แนะ ให้คำปรึกษา กำกับดูแล (Coaching) การทำงานก็เหมือนกับทีมฟุตบอล แม้ว่าในแต่ละตำแหน่งจะมีคนเล่นที่มีความสามารถฉกาจฉกรรจ์แค่ไหนก็ไม่พอ ต้องมีคนมองภาพรวมในการเล่นของทีมด้วย ว่าช่วงไหนควรรุก ช่วงไหนควรถอย จะปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์อย่างไร
2. เปลี่ยนทัศนคติลึก ๆ ในตัวคน การทำงานเป็นนั้น แต่ละคนต้องลดละอัตตาลงด้วย ต้องพร้อมที่จะปรับตัวเองให้สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ การวางกลยุทธ์เพื่อให้คนทำงานร่วมกัน ผู้บริหารต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ ใช้ระยะเวลาและความต่อเนื่องเพื่อไปสู่ทิศทางเดียวกัน
3.  ดึงศักยภาพที่มีอยู่ โดยไม่ต้องเอาความรู้ข้างนอกมามากนัก
4.  ทำให้สถานที่ทำงานเป็นที่รักของพนักงาน เด็ก 97% มีความเป็นอัจฉริยะในตัวเอง แต่ความเป็นอัจฉริยะของเด็กกลับลดลงไปเรื่อย ๆ เพราะกฎระเบียบทำให้ไม่สามารถแสดงออกมา แต่เชื่อว่ามันยังคงซ่อนอยู่
5.  Fullfill Basic Need ให้คนในองค์การ เช่น ให้ตำแหน่ง เพราะคนต้องการการยอมรับ ซึ่งอาจจะเป็นการเพิ่มตำแหน่งตามสายบริหาร หรือเป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษ เพื่อยอมรับในความสามารถที่พนักงานมี และได้พัฒนาตัวเองขึ้นมา
6.  ดึงคนให้หลุดพ้นจากความเห็นแก่ตัว ทัศนคติต้องเปลี่ยน มีการแข่งขันในระบบ มี Innovative ใหม่ ๆ การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้องค์การเติบโตขึ้น พัฒนาขึ้น ความรู้จากภายนอกช่วยได้เพียง 30% อีก 70% ต้องเรียนรู้จากข้างใน จึงต้องสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในองค์การ
สิ่งที่สะท้อนภาพองค์กรที่กำลังจะตายได้อย่างหนึ่ง คือองค์กรที่ยึดรูปแบบเต็มไปด้วยกฎระเบียบมากกว่าสาระ ในสถานการณ์ปัจจุบันการวางแผนเชิงกลยุทธ์เป็นปัจจัยหลักของการทำธุรกิจ ซึ่งจะบ่งชี้ถึงความสามารถของผู้บริหารได้ชัดเจนที่สุด การวางแผนงานให้บรรลุเป้าหมายควรต้องมีการทบทวนอย่างน้อยทุก 3 เดือน ไม่มากเกินไปจนคนในองค์การสับสน
การวางแผนเชิงกลยุทธ์ที่ดีต้องสร้างสรรค์จากภายในองค์กรเอง ด้วยข้อมูล ทรัพยากรที่มีอยู่ ผู้บริหารควรศึกษาการวางแผนเชิงกลยุทธ์ขององค์การอื่นเพื่อเป็นแนวทาง แต่ไม่มีแผนเชิงกลยุทธ์ขององค์การใดที่เป็นเลิศจนเป็นแบบฉบับให้องค์การอื่นได้ ดังนั้น คนจึงเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินการ
สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ผู้นำจะต้องทำให้เกิดขึ้นคือความสุขของคนในองค์การ
การดึงศักยภาพของคนออกมาให้ได้โดยสร้างวัฒนธรรมองค์การที่จะกำหนดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ดังนี้
1. วัฒนธรรมการเรียนรู้ ทำให้คนในองค์กรเป็นผู้รักการเรียนรู้ และที่สำคัญมากกว่า คือมีความเต็มใจที่จะถ่ายทอดความรู้ เพราะความเป็นจริงแล้ว ทุกคนมีความรู้และประสบการณ์ที่มีค่าอยู่กับตัว หลายองค์กรไปไม่รอด เพราะความรู้นั้นติดอยู่กับคน และไปพร้อมกับคน
2. การทำงานด้วยการครองสติ หลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์
3. การเพ่งโทษ จับผิดที่ทำลายบรรยากาศของความเป็นทีม
4. มีความทะเยอทะยานไปสู่จุดมุ่งหมายที่ท้าทายขึ้นเรื่อย ๆ
5. ให้โอกาส และรู้จักมองส่วนดีของผู้อื่น
สิ่งเหล่านี้เป็นความท้าทายสำหรับผู้นำยุคใหม่ จะเป็นได้ว่าน้ำหนักเกือบทั้งหมดอยู่ที่การบริหารคน การสร้างภาวะผู้นำในองค์การจึงเป็นเรื่องที่ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญ และถ้าพิจารณาให้ดี หลักธรรมของพระพุทธองค์นั้น คือหลักการสำคัญที่จะทำให้คนอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข พร้อมที่จะรุกไปด้วยกัน

ที่มา  :  http://uhost.rmutp.ac.th/kanlayanee.so/L4/4-1-4.htm